คำนวณการให้น้ำเกลือในสัตว์ (Crystalloid fluid calculation)

แจกฟรี!! เครื่องมือช่วยในการคำนวณปริมาณการให้น้ำเกลือสำหรับสัตว์ (Crystalloid fluid) พร้อมตัวอย่างวิธีการคำนวณ

การให้น้ำเกลือเป็นการรักษาที่จำเป็นในหลายกรณี เช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะช็อก ภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ เป็นต้น การคำนวณปริมาณการให้น้ำเกลืออย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญ เพื่อให้สัตว์ป่วยได้รับน้ำเกลือในปริมาณที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีภายใต้การพิจารณา และการดูแลโดยสัตวแพทย์ นอกจากนี้เรายังแจกโปรแกรมวิเคราะห์อื่นๆเพื่องานสุขภาพสัตว์อีกมากมาย

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

การคิดปริมาณการให้น้ำเกลือ หรือสารน้ำทดแทน (Fluid replacement calculation)

วิธีคิดปริมาณสารน้ำทดแทน(Fluid replacement calculation)
  • Emergency phase
    Shock rate = 80-90 ml/kg IV in dogs and 50-55 ml/kg IV in cats
    เงื่อนไข และข้อจำกัดในการให้ต่างๆอยู่ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์
  • Replacement and maintenance phase
Total fluid Requirement (ml) = Fluid deficit (ml) + Maintenance (ml) + Ongoing loss(ml)
  1. Fluid deficit calculation (Dehydration)

Fluid deficit (ml) = %Dehydration x Weight (Kg) x 10

วิธีการประเมิน %dehydration score จาก Physical examination

% Dehydration Status Eyes Mucous membrane Skin tent Others
<5% Normal Normal Normal Normal (<2 sec) History: Fluid loss
5 Mildly depressed Mildly sunken Sticky Mild
7Mildly depressed Mildly sunken Dry Mild to moderate (> 3 sec) Mild tachycardia+normal pulse
10Depressed Deeply sunken Dry Moderate to high tachycardia + decreased pulse pressure + CRT>2
>12Depressed Deeply sunken Dry High(persists) Signs of shock

ในความเป็นจริงอาการที่เห็นอาจพบไม่ครบทุกอัน แต่ให้พิจารณาในภาพรวม กรณีที่ดูจากปัจจัยเพียงอย่างเดียวก็อาจจะทำให้เราประเมินผิดพลาดได้ อย่างเช่น แมวที่มีภาวะขาดน้ำ หลายตัวก็ไม่พบภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) การประเมินเรื่องผิวหนังสัตว์ (Skin tent) ในแต่ละอายุ สัตว์อ้วนหรือผอมก็มีผลทำให้ตรวจยากและแปลผิดได้ การประเมินโดยดูเยื่อเมือก (Mucous membrane) ถ้าสัตว์เพิ่งจะอ้วกมาเยื่อเมือกก็จะดูไม่แห้งแล้วอาจจะมองว่าปกติได้ เป็นต้น

2. Maintenance calculation

    • Maintenance rate = 40-60 ml/kg/day ถ้าสัตว์น้ำหนักน้อยก็แนะนำใช้ rate ที่สูง แต่น้ำหนักมากก็ใช้ rate ที่น้อย แต่โดยทั่วไปใช้ 50 ml/kg/day ทั้งในสุนัขและแมว

โดยคิดมาจากตารางนี้

Source of fluid loss Sensible/insensible Amount
Respiration/sweating Insensible loss 20 ml/kg/24h
Urinary loss (normal range) Sensible loss 20 ml/kg/24h
Faecal loss (normal range) Sensible loss 10 ml/kg/24h
Total fluid loss 50 ml/kg/24 h
    • หรือคิดจาก Maintenance rate = BW(kg) * 30 +70 โดยจะใช้ได้ในสัตว์ชนิดอื่นๆเช่นกัน

3. Ongoing loss calculation

    • ประเมินอัตราการให้ขึ้นอยู่กับประวัติการสูญเสียน้ำ และการพิจารณาของสัตวแพทย์
    • โดยการสูญเสียน้ำที่คิดในขั้นตอนนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ e.g. อาเจียน (Vomit), ท้องเสีย (Diarrhea), ฉี่เยอะ (Excessive urinary loss), สูญเสียเลือด (Bleeding) เป็นต้น

อัตราการให้น้ำเกลือ (Rate of administration)

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการให้น้ำเกลือ

1.เวลา (Time) : Acute, Chronic หรือ มีระยะเวลาจำกัด

2.ปริมาณ (Amount): %dehydrate, ongoing loss

3.Fluid compartment: ให้สารน้ำเพื่อชดเชย Intravascular หรือ Extravascular

4.สภาวะสัตว์ (Animal condition): status ตอนนั้นเป็นอย่างไร มีโรคอื่นๆร่วมหรือไม่

5.ช่องทางการให้ (Route): Oral / SQ / IV / PO

Administration set

Adult set = 20 หยด/ 1 มิลลิลิตร

Infant set = 60 หยด/ 1 มิลลิลิตร

ให้น้ำเกลือสัตว์ทางไหนได้บ้าง (Route of administration)

  1. ให้ผ่านทางปาก (Oral หรือ PO) : เจ้าของสัตว์ให้เองได้ง่าย ปลอดภัย เหมาะกับการให้กรณีขาดน้ำไม่มากและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารเช่น ท้องเสีย อาเจียน
  2. ให้ผ่านใต้ผิวหนัง (Subcutaneous หรือ SQ) : ให้ง่าย ให้ได้เร็ว เหมาะกับ mild dehydration(~5%) น้ำเกลือจะค่อยๆดูดซึมไปเองในระยะเวลา 6-8 ชั่วโมง และต้องใช้ isotonic crystalloids fluid
  3. ให้ผ่านหลอดเลือดดำ (Intravenous หรือ IV) : ให้ในสัตว์ป่วยที่โรงพยาบาล ไม่สามารถกินน้ำกินอาหารได้ หรือสัตว์ป่วยที่ต้องได้รับสารน้ำรวดเร็วควบคุมปริมาณแน่นอนได้ ช่วยรักษาภาวะฉุกเฉินต่างๆได้ สามารถให้ร่วมกับยาอื่นๆเข้าทางเส้นเลือดได้ แต่อาจมีความเสี่ยงเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) หรือติดเชื้อในกระเลือด (Septicemia) เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การทำ หรือดูแลโดยสัตวแพทย์
  4. ให้ผ่านกระดูก (Intraosseous): มักใช้ในกลุ่ม exotic pets, สัตว์ตัวเล็ก หรือลูกสัตว์

ตัวอย่างวิธีการคำนวณการให้น้ำเกลือ

ตัวอย่างเคสการคำนวณการให้สารน้ำในสัตว์

รูปแบบการประเมินในแต่ละขั้นตอนในการให้น้ำเกลือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสัตวแพทย์ซึ่งถือว่าต้องใช้ข้อมูลในองค์รวม บริบท หรือข้อจำกัดในการให้แต่ละครั้งมาพิจารณาร่วมกัน โดยเราจะยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายๆแต่ทุก case ก็ไม่จำเป็นจะต้องทำเหมือนกัน (No one size fit all)

Case1: สุนัขพันธุ์ Pomeranian น้ำหนัก 3 กิโลกรัม มีประวัติท้องเสียมาก่อน ยังทานอาหารได้ เยื่อเมือกเหนียว (Sticky), mild skin tent มีอัตราการเต้นของหัวใจ และ pulse ที่ปกติ ประเมินสภาวะ dehydrate อยู่ที่ 5% โดยประมาณการ ongoing loss จากท้องเสียประมาณ 50 มิลลิลิตร (ml) หลังจากนั้นก็ไม่พบอาการท้องเสียแล้ว โดยจะวางแผนการให้สารน้ำดังนี้

Fluid deficit = 10 *  %dehydrate *  Weight(kg) = 10 * 5 * 3  = 150 ml

Maintenance = 50 ml/kg/day  *  Weight(kg) = 50 * 3 = 150 ml

Ongoing loss = 50 ml

Fluid requirement = Fluid deficit + Maintenance + Ongoing loss

= 150 + 150 + 50 = 350 ml

สรุปCase1: แต่เนื่องจากสุนัขยังพบไม่พบอาการผิดปกติอื่นๆ ยังทานอาหารและน้ำได้ นอกจากนี้ยังไม่พบอาการท้องเสียเพิ่มเติมจึงเลือกที่จะชดเชยส่วนของ Fluid deficit และ Ongoing loss ผ่านใต้ผิวหนังรวม(SQ) 200 ml โดยใช้สารน้ำกลุ่ม Isotonic และวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

 

 


 

 

Case2: สุนัขพันธุ์ Golden retriever น้ำหนัก 25 กิโลกรัม อยู่ในสภาวะ 10% dehydrate เนื่องจากพบ sunken eye, เยื่อเมือกแห้ง, หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia) แต่ชีพจรเบา มีประวัติพบอาเจียนโดยประมาณปริมาณของเหลวอยู่ที่ 250 มิลลิลิตร (ml) วางแผนการให้สารน้ำใน 24 ชั่วโมงแรก

Fluid deficit = 10  *  %dehydrate  *  Weight(kg) = 10 * 10 * 25 = 2,500 ml

Maintenance = 50 ml/kg/day  *  Weight(kg) = 50 * 25= 1,250 ml

Ongoing loss = 250 ml

Fluid requirement = Fluid deficit + Maintenance + Ongoing loss

= 2,500 + 1,250 + 250 = 4,000 ml

2.1 กรณีสัตว์ซึมอ่อนแรง หรือเป็นภาวะ acute เราอาจจะแก้ไข Fluid deficit + Ongoing loss ภายใน 6-8 ชั่วโมงก่อนร่วมกับการให้ Maintenance ไปด้วยทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละเคส

เราก็จะให้ Rate สารน้ำใน 8 h แรก = [(Fluid deficit + Ongoing loss)/8] + [Maintenance/24]

= [(2,500 + 250)/8]  +  [1,250/24]

= 344 + 52

= 396 ml/h เป็นเวลา 8 ชั่วโมงผ่าน IV โดยใช้ Isotonic

ถ้าเราใช้ set น้ำเกลือ 20 drop/ml อัตราการให้คือ 20 drop/ml * 396 ml/h = 7,920 drop/h

โดยใน 1 ชั่วโมงมี 3,600 วินาที เท่ากับต้องให้ 7,920 / 3,600 = ประมาณ 2 drop/sec ใน 8 ชั่วโมงแรก

 

หลังจากแก้ไข 8 ชั่วโมงแรกแล้ว ก็ให้น้ำเกลือในส่วน Maintain ต่อคือ 52 ml/hrเป็นเวลา 16 ชั่วโมง

ถ้าเราใช้ set น้ำเกลือ 20 drop/ml อัตราการให้คือ 20 drop/ml * 52 ml/h = 1,040 drop/h

โดยใน 1 ชั่วโมงมี 3,600 วินาที เท่ากับต้องให้ 7920 / 3600 = ประมาณ 0.28 drop/sec หรือประมาณ 3.5 sec/drop เป็นเวลา 16 ชั่วโมง

สรุปCase2.1: ในกรณีเคสสัตว์ซึมอ่อนแรง หรือเป็นภาวะ acute เราจะวางแผนให้น้ำเกลือทั้งหมด 4,000 ml โดยแบ่งให้ Isotonic rate 396 ml/h ในระยะเวลา 8 ชั่วโมงแรก อัตราหยดน้ำเกลือคือ 2 drop/sec หลังจากนั้นให้ Maintain rate 52 ml/h ในระยะเวลา 16 ชั่วโมง อัตราหยดน้ำเกลือคือ 3.5 sec/drop และวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

 

2.2 กรณีสัตว์ stable หรือเป็นภาวะ chronic เราจะแก้ภาวะขาดน้ำภายใน 24 h

ในเคสนี้ Rate น้ำเกลือ = (Fluid deficit + Maintenance + Ongoing loss) / 24

= (2,500 + 1,250 + 250) / 24

= 166 ml/h เป็นระยะเวลา 24 h IV โดยใช้ Isotonic fluid

ถ้าเราใช้ set น้ำเกลือ 20 drop/ml อัตราการให้คือ 20 drop/ml * 166 ml/h = 3,320 drop/h

โดยใน 1 ชั่วโมงมี 3,600 วินาที เท่ากับต้องให้ 3,320 / 3,600 = ประมาณ 1 drop/sec

สรุปCase2.2: ในกรณีเคสที่สัตว์ stable หรือเป็นภาวะ chronic เราจะวางแผนให้น้ำเกลือทั้งหมด 4,000 ml โดยให้ให้ Isotonic rate 166 ml/hr ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อัตราหยดน้ำเกลือคือ 1 drop/sec  และวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

 

 


 

Case3: แมวพันธุ์ไทย น้ำหนัก 3 กิโลกรัม อยู่ในสภาวะ 7% dehydrate อาการโดยรวม ประเมินว่ายัง stable มีประวัติท้องเสียมาเมื่อ 1 วันที่แล้ว ประมาณ 40 มิลลิลิตร วางแผนการให้สารน้ำในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

กรณีภาพรวมสัตว์ stable เราจะแก้

Fluid deficit = 10 * %dehydrate * Weight(kg) = 10 * 7 * 3 = 210 ml

Maintenance = 50 ml/kg/day * Weight(kg) = 50 * 3 = 150 ml

Ongoing loss = 40 ml

Fluid requirement = Fluid deficit + Maintenance + Ongoing loss

= 210 + 150 + 40 = 400 ml

ในเคสนี้ Rate น้ำเกลือ = (Fluid deficit + Maintenance + Ongoing loss) / 24

=  (210 + 150 + 40) / 24

= 17 ml/h เป็นระยะเวลา 24 h IV โดยใช้ Isotonic fluid

ถ้าเราใช้ set น้ำเกลือ 20 drop/ml อัตราการให้คือ 20 drop/ml * 17 ml/h = 340 drop/h

โดยใน 1 ชั่วโมงมี 3,600 วินาที เท่ากับต้องให้ 340 / 3,600 = ประมาณ 0.09 drop/sec หรือ 11 sec/drop

สรุป ในกรณีเคสนี้เป็นกรณีแมว stable เราจะวางแผนให้น้ำเกลือทั้งหมด 400 ml โดยให้ให้ Isotonic rate 17 ml/h ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อัตราหยดน้ำเกลือคือ 11 sec/drop  และวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

การประเมิน หรือการพิจารณาในการให้น้ำเกลือแก่สัตว์ ไม่ว่าจะเป็นให้สารน้ำชนิดอะไร ให้ทางไหน ให้ด้วยอัตราเท่าไร ติดตามผลการให้อย่างไร ทั้งหมดที่ขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในการประเมินตามหลักการ หรือแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ติดต่อสอบถาม
Writer:teenalytic
Share
Share
Share
Share
Print