คำนวณปริมาณยาในสัตว์ (Animal drug calculation)

ฟรี!! คำนวณปริมาณยาที่ต้องใช้ในสัตว์ง่ายๆ จากน้ำหนักสัตว์ และความเข้มข้นยา พร้อมวิธีคำนวณและหลักการให้ ครอบคลุมยากิน ยาฉีด ยาผสมอาหาร ยาละลายน้ำ ยาจุ่มน้ำ

คำนวณยาสัตว์ (animal drug calculation)

     เรียนรู้วิธีคำนวณปริมาณการใช้ยาในสัตว์หรือสิ่งมีชีวิต สำหรับใครที่ต้องคิดปริมาณยา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบกิน ฉีด ผสมอาหาร หรือละลายน้ำ วันนี้เราจะมาอธิบายวิธีการคำนวณปริมาณการให้ยา และสิ่งที่ควรจะรู้ รวมวิธีการคำนวณปริมาณยา นอกจากนี้เรายังแจกโปรแกรมวิเคราะห์อื่นๆเพื่องานสุขภาพสัตว์อีกมากมาย

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

คำนวณปริมาณยาที่ต้องใช้

คำนวณปริมาณยากิน ชนิดเม็ด หรือน้ำ

tablets drug for animals

คำนวณปริมาณยาฉีด

injection drug for animals

คำนวณปริมาณยาผสมอาหาร

animal feed mixed with drugs to treatment.

คำนวณปริมาณยาละลายน้ำดื่ม

mixed animal drugs into small tank for treatment animal by drinking water.

คำนวณปริมาณยาผสมแช่น้ำ (สัตว์น้ำ)

fish in a tank

คำที่ควรรู้เกี่ยวกับยาสัตว์ (Technical terms)

Active ingredient
สารออกฤทธิ์ (Active ingredient) คือ สารที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยาที่สามารถบรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือลดความเจ็บป่วยของสัตว์ได้ โดยปกติในฉลากยาจะระบุมาชัดเจนว่ามีปริมาณสารออกฤทธิ์เท่าไร ขึ้นอยู่กับรูปแบบยา

Dose
ปริมาณของยาที่ใช้สำหรับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตในหนึ่งครั้ง โดยทั่วไปจะวัดเป็นหน่วยน้ำหนักหรือปริมาตร เช่น ยา A dose 10-20 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม เป็นต้น หรือที่หลายๆคนก็ชอบพูดติดปากว่าให้ยา A dose 10-20 ซึ่งความหมายจริงๆก็คือ 10-20 mg/kg

Dose = ปริมาณยาที่ต้องใช้ต่อน้ำหนักสัตว์

Dosage
ปริมาณหรือรูปแบบของยาที่ใช้สำหรับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตในการรักษาครั้งนั้นๆ โดยทั่วไปจะวัดเป็นขนาดการใช้ของยารวมจำนวนครั้งของยา เช่น สัตว์น้ำหนัก 10 กิโลกรัม ให้ยา dosage 100-200 mg รักษาเป็นเวลา 5 วัน เป็นต้น  จะสังเกตได้ว่าถ้ารู้ dosage ก็สามารถคิด dose ย้อนกลับได้

Dosage = ปริมาณยาที่ต้องใช้ x น้ำหนักสัตว์

 **Dose ยา คือ ปริมาณที่ให้เป็นเลขที่ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยสามารถเปิดดูตามคู่มือยาสัตว์ที่น่าเชื่อถือ ส่วน dosage ก็คือ dose x น้ำหนักสัตว์ และ/หรือ รวมถึงจำนวนความถี่ในการให้ด้วย

Loading dose 
การให้ยา dose แรกในปริมาณสูง ทำเพื่อให้ระดับยาในร่างกายสูงถึงระดับที่ออกฤทธิ์ในการรักษาได้ (Therapeutic dose)

Maintenance dose 
การให้ยาใน dose ที่ต่ำลงมาจาก loading dose ทำเพื่อรักษาระดับยาในร่างกายอยู่ในระดับการรักษา (Therapeutic level)

หลักการคำนวณปริมาณยากิน ชนิดเม็ด หรือน้ำ

  • เป็นการให้ยาสัตว์เป็นรายตัว โดยการป้อนยาให้กินในรูปแบบเม็ด หรือยาน้ำทั้งในรูปแบบสารแขวนลอยหรือเป็นผงแล้วค่อยผสมน้ำ 
  • ยาจะผ่านระบบทางเดินอาหารก่อนดูดซึมเข้าร่างกาย
  • ใช้บ่อยในการให้ยาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว สัตว์เลี้ยงอื่นๆที่ให้เป็นรายตัวสามารถป้อนได้

สูตรคำนวณ
จำนวนยาที่ต้องกิน(เม็ด หรือ ml) = dose (mg/kg) x น้ำหนักสัตว์(kg) / ความเข้มข้นยา(mg/เม็ด หรือ ml)

ตัวอย่าง1. 
ยาเม็ดระบุว่า ยา 1 เม็ด ประกอบด้วย Tolfenamic acid 20 mg ปริมาณ dose ยาที่เลือกใช้ คือ 4 ml/kg ต้องการให้สัตว์น้ำหนัก 2.5 kg คำนวณยาเม็ดที่ต้องกินต่อครั้ง

ปริมาณยาที่ต้องกิน (เม็ด) = 4 x 2.5 / 20 = 0.5 เม็ด
สรุป ปริมาณยาที่ต้องกินคือ 0.5 เม็ด 

ตัวอย่าง2.
ยาผงผสมน้ำระบุว่า เมื่อผสมยาแล้ว ใน 1 ml ประกอบไปด้วย Amoxicillin 50 mg ปริมาณ dose ยาที่เลือกใช้คือ 15 mg/kg ต้องการให้สัตว์น้ำหนัก 2.5 kg คำนวณยาน้ำที่ต้องกินต่อครั้ง

ปริมาณยาที่ต้องกิน (ml) = 15 x 2.5 / 50 = 0.75 ml
สรุป ปริมาณยาที่ต้องกินคือ 0.75 ml

หลักการคำนวณปริมาณยาฉีด

  • เป็นการให้ยาสัตว์เป็นรายตัว โดยการฉีดเข้าร่างกายโดยตรง ยามักเป็นรูปแบบน้ำ 
  • ยาไม่ผ่านระบบทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารสามารถให้ได้
  • ใช้ได้ในการให้ยาสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว สุกร โค สัตว์เลี้ยงอื่นๆ
  • สามารถให้ร่วมกับสารน้ำเพื่อเป็นการให้แบบ CRI ได้

สูตรคำนวณคิดจากความเข้มข้นยาเป็น mg/ml
ปริมาณยาที่ต้องฉีด (ml) =dose(mg/kg) x น้ำหนักสัตว์(kg) / ความเข้มข้นยา(mg/ml)

ตัวอย่าง3. 
ขวดยาระบุว่า ในยา 1 ml ประกอบด้วย Amoxicillin (trihydrate) 150 mg ปริมาณ dose ยาที่เลือกใช้ คือ 15 ml/kg ต้องการฉีดให้สัตว์น้ำหนัก 5 kg

ปริมาณยาที่ต้องฉีด (ml) = 15 x 5 / 150 = 0.5 ml
สรุป ปริมาณยาที่ต้องฉีดคือ 0.5 ml

สูตรคำนวณคิดจากความเข้มข้นยาเป็น % 
ปริมาณยาที่ต้องฉีด (ml) =dose(mg/kg) x น้ำหนักสัตว์(kg) / ความเข้มข้นยา (%) x 10

ตัวอย่าง4. 
ขวดยาระบุว่า ในยาประกอบด้วย Amoxicillin (trihydrate) 15%  ปริมาณ dose ยาที่เลือกใช้คือ 15 ml/kg ต้องการฉีดให้สัตว์น้ำหนัก 3 kg

ปริมาณยาที่ต้องฉีด (ml) = 15 x 3 / 15 x 10 = 0.3 ml
สรุป ปริมาณยาที่ต้องฉีดคือ 0.3 ml

หลักการคำนวณปริมาณยาผสมอาหาร

  • เป็นการให้ยาที่เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์หลายตัว หรือเป็นรายฝูง ทำได้ง่ายเพราะผสมเข้ากับอาหารที่กินเลย
  • ข้อเสียคือปริมาณยาที่ได้รายตัวอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการกินอาหาร และทำให้การกินลดลงได้ถ้าใส่ยาปริมาณมาก
  • ใช้บ่อยในการให้ใน ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ หรือสัตว์ที่เลี้ยงเป็นกลุ่มแต่ให้รายตัวลำบาก

สูตรคำนวณคิดจาก dose ยาในหน่วย ppm 

ปริมาณยา (kg) ที่ต้องผสมในอาหาร 1 ตัน = dose (ppm) / ความเข้มข้นยา (%)* x 10

* ความเข้มข้นยาสามารถใช้ mg/g แทนก็ได้ เพราะ ความเข้มข้นยา (%) x 10 = mg/g

ตัวอย่าง5. 
ต้องการใส่ยา Tiamulin ผสมอาหาร 100 ppm โดยใช้ Tiamulin 10% จงหาปริมาณยาที่ต้องใส่ในอาหาร 1 ตัน

ปริมาณยาที่ต้องใส่ (kg) = 100 / 10 x 10 = 1 kg
สรุป  ปริมาณยาที่ต้องใส่คือ 1 กิโลกรัม ต่ออาหาร 1 ตัน

สูตรคำนวณคิดจาก dose ยาในหน่วย mg/kg
วิธีการนี้จะเหมาะกับการที่เราทราบ dose (mg/kg), น้ำหนักสัตว์ และปริมาณการกิน จะทำให้คิดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ปริมาณยาที่ต้องผสมในอาหาร 1 ตัน (kg) = dose (mg/kg) x  น้ำหนักรวมสัตว์ (kg) / ปริมาณการกิน(kg) x ความเข้มข้นยา(mg/g)

หรือกรณีกำหนดให้ การกิน = 4% ของน้ำหนักตัว

ปริมาณยาที่ต้องผสมในอาหาร 1 ตัน (kg) = dose (mg/kg) x 25 /ความเข้มข้นยา(mg/g)

ตัวอย่าง6. 
ต้องการใส่ยาผสมอาหาร ในยา 1 g ประกอบด้วย Amoxicillin  500 mg  ปริมาณ dose ยาที่ให้คือ 20 mg/kg โดยอัตราการกินอาหารอยู่ที่ 4% ของน้ำหนักตัว จงหาปริมาณยาที่ต้องใส่ในอาหาร 1 ตัน

ปริมาณยาที่ต้องใส่ (kg) = 20 x 25 / 500 = 1 kg
สรุป ปริมาณยาที่ต้องใส่คือ 1 กิโลกรัม ต่ออาหาร 1 ตัน

หลักการคำนวณปริมาณยาละลายน้ำดื่ม

  • เป็นการให้ยาที่เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์หลายตัว หรือเป็นรายฝูง ทำได้ง่ายเพราะผสมเข้ากับน้ำดื่มที่กินเลย
  • ข้อเสียคือปริมาณยาที่ได้รายตัวอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการดื่มได้ น้ำมีรสชาติขมได้ถ้าใส่ในปริมาณมาก
  • ใช้บ่อยในการให้ใน ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ 

สูตรคำนวณ

ปริมาณยาที่ต้องใช้ (g หรือ ml) = dose(mg/kg) x น้ำหนักสัตว์ (kg) / ความเข้มข้นยา (%) x 10

ตัวอย่าง7. 
ต้องการให้ยาละลายน้ำดื่ม โดยที่ในยา 1 g ประกอบด้วย Doxycycline(hyclate)  100 mg  ปริมาณ dose ยาที่ให้คือ 10 mg/kg ในสัตว์ที่มีน้ำหนักรวมทั้งฝูง 100 kg คำนวณหาปริมาณยาที่ต้องผสมในน้ำดื่ม

ปริมาณยาที่ต้องใส่ (g) = 10 x 100 / 100 = 10 g
สรุป  ปริมาณยาที่ต้องใส่ในน้ำดื่มคือ 10 g โดยที่แนะนำให้ละลายในถังแยกก่อน (solution stock) ก่อนนำน้ำเข้าระบบต่อส่งน้ำดื่ม จากตัวอย่างถ้าสัตว์ฝูงนี้กินน้ำได้ 10 ลิตรต่อวัน และ ตัวควบคุมการส่งยาจากถังแยก (dispenser regulator) ถ้าสามารถส่งน้ำเข้าระบบ 20% จากน้ำที่กินต่อวัน คือ 2 ลิตร ก็ให้นำยาที่คำนวณได้คือ 10 g ผสมกับน้ำ 2 ลิตร เพื่อใช้เป็น solution stock ได้เลย

หลักการคำนวณปริมาณยาผสมน้ำ (สัตว์น้ำ)

  • เป็นการให้ยาที่เหมาะกับการสัตว์น้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สัตว์น้ำอยู่ในน้ำที่มียาผสมอยู่ เพื่อรักษาแผลติดเชื้อภายนอก รักษาพยาธิภายนอก
  • การใส่ยาไปในน้ำสิ่งแวดล้อมที่ปลาอยู่ในคำนึงถึง ระยะเวลาและผลข้างเคียงในการให้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วย
  • หา dose การใช้ค่อนข้างยาก แต่ก็พอจะมีแหล่งอ้างอิงที่หน้าเชื่อถือ

สูตรคำนวณกรณีทราบความเข้มข้นยาเป็น %

ปริมาณยาที่ต้องใช้(ml หรือ g) = ปริมาตรน้ำในตู้ปลา หรือบ่อเลี้ยง (liter) x Dose(mg/L) / ความเข้มข้นยา (%) x 10

ตัวอย่าง8.
ต้องการให้ยา Enrofloxacin เข้มข้น 10% ให้ปลาในตู้ขนาดตามภาพ ปริมาณ dose ยาที่ให้คือ 2.5 mg/L และให้แช่ยาเป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง ทำวันละครั้ง เป็นระยะเวลา 5 วัน จงคำนวณปริมาณยาและวิธีการใช้ยา
fish-tank-volume

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณปริมาณน้ำในตู้ปลา
ปริมาณน้ำในตู้ปลาทรงสี่เหลี่ยม = กว้าง x ยาว x สูง
          = 0.2 x 0.3 x0.7
          = 0.042 ลบ.เมตร.(m3)
สรุป ขั้นตอนที่ 1 :  ใช้น้ำทั้งหมด 42 L (0.001m3= 1 L)

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณปริมาณยาที่ใช้
ปริมาณยาที่ต้องใช้ (g) = 42 x 2.5 / 10 x 10 = 1.05 g
สรุป ขั้นตอนที่ 2 : ใช้ยาทั้งหมด 1.05 g ในน้ำ 42 L โดยให้แช่ 5 ชั่วโมงแล้วถ่ายน้ำออก 50-75% เติมน้ำปกติชดเชยให้เท่าเดิม ทำแบบนี้ทุกวันเป็นเวลา 5 วัน

หน่วยต่างๆที่พบบ่อยในการคำนวณยาสัตว์ (Units)

หน่วยยาที่อาจจะพบได้บ่อยในการคำนวณ 
1. หน่วย ppm = g/ton = mg/kg = mg/L
2. หน่วย L = 1,000 c = 0.001 
3.หน่วย % x 10 = mg/ml (w/v) = mg/g (w/w) = g/kg (w/w)
หรือตัวช่วยคำนวณหน่วยยา

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆเพิ่มเติม:

คำนวณการให้น้ำเกลือในสัตว์ (Crystalloid fluid calculation)

คำนวณการให้ยาผสมในสารน้ำในสัตว์ (Constant rate infusion)


ติดต่อสอบถาม
Writer:teenalytic
Share
Share
Share
Share
Print
Writer:teenalytic
Share
Share
Share
Share
Print