คำนวณการให้ยาผสมในสารน้ำในสัตว์ (Constant rate infusion)

ฟรี!! เครื่องมือช่วยคำนวณปริมาณยาผสมสารน้ำ เพื่อให้ยาสัตว์แบบ Constant rate infusion หรือ CRI พร้อมสูตรและตัวอย่างการคำนวณ

คำนวณการให้ยาผสมในสารน้ำในสัตว์ (Constant rate infusion) การให้ยาผสมในสารน้ำ (Constant rate infusion หรือ CRI) เป็นวิธีการให้ยาที่พบได้บ่อยในการบริหารยาเข้าสู่ร่างกายของสัตว์ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจหลักการ วิธีการคำนวณยา CRI และ แนะนำเครื่องมือสำหรับช่วยคำนวณปริมาณยาเพื่อบริหารยาแบบ CRI

การให้ยาผสมในสารน้ำ (Constant rate infusion หรือ CRI) เป็นวิธีการให้ยาที่พบได้บ่อยในการบริหารยาเข้าสู่ร่างกายของสัตว์ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจหลักการ วิธีการคำนวณยา CRI และ แนะนำเครื่องมือสำหรับช่วยคำนวณปริมาณยาเพื่อบริหารยาแบบ CRI นอกจากนี้เรายังแจกโปรแกรมวิเคราะห์อื่นๆเพื่องานสุขภาพสัตว์อีกมากมาย

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

การให้ยาแบบ constant rate infusion หรือ CRI เป็นวิธีการให้ยาที่ควบคุมปริมาณยาให้เข้าสู่ร่างกายสัตว์อย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราที่คงที่ ช่วยให้ระดับยาในกระแสเลือดคงที่

การให้ยาแบบ CRI คืออะไร ?

การให้ยาแบบ Constant rate infusion หรือ CRI เป็นวิธีการให้ยาที่ควบคุมปริมาณยาให้เข้าสู่ร่างกายสัตว์อย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราที่คงที่ โดยนำยาที่ต้องการไปผสมกับสารน้ำเพื่อบริหารยาเข้าร่างกายสัตว์ ช่วยให้ระดับยาในกระแสเลือดคงที่

การให้ยาแบบ Constant rate infusion หรือ CRI เป็นวิธีการให้ยาที่ควบคุมปริมาณยาให้เข้าสู่ร่างกายสัตว์อย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราที่คงที่ โดยนำยาที่ต้องการไปผสมกับสารน้ำเพื่อบริหารยาเข้าร่างกายสัตว์ ช่วยให้ระดับยาในกระแสเลือดคงที่ ทั้งนี้การให้ยานั้นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

ทำไมต้องให้ยาแบบ CRI ?

  1. ช่วยควบคุมปริมาณยาให้อยู่ในกระแสเลือดในระดับที่คงที่อย่างต่อเนื่อง
  2. ไม่ให้เกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณยาในกระแสเลือดฉับพลัน (Sudden peaks) เช่นการให้ยา Bolus IV เป็นต้น ทำให้ลดผลข้างเคียง (Adverse effect) ในยาบางชนิด
  3. ให้ยาคงอยู่ในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง ในยาบางชนิดมีค่าครึ่งชึวิต (Half-life) หรือระยะเวลาในการออกฤทธิ์ (Duration of action) ที่สั้น
  4. เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และช่วยลดปริมาณการใช้ยาโดยรวมในการรักษาลง

กลุ่มของยาที่สามารถพบได้บ่อยในการผสมกับสารน้ำ

  1. ยาเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (Positive inotropes) เช่น Dopamine, Dobutamine
  2. ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators) e.g. Nitroprusside
  3. ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (Antiarrhythmics) e.g. Lidocaine
  4. ยาลดอาเจียน e.g. Metoclopramide
  5. ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) e.g. Furosemide
  6. ยาระงับปวด (Analgesic) e.g. Fentanyl, Morphine
  7. ควบคุมการชัก (Control seizure) e.g. Propofol, Midazolam

วิธีการหาปริมาณยา CRI ในสัตว์

สูตรคำนวณ ml = [ DVW/16.67R ] / C

ml = ปริมาณยาที่ต้องผสมในสารน้ำหน่วยมิลลิลิตร (ml)

D = dose ยาในหน่วยไมโครกรัม/น้ำหนักสัตว์1กิโลกรัม/นาที (mcg/kg/min)*

*กรณี textbook ให้เป็นหน่วย mg/kg/h อย่าลืมปรับหน่วยด้วย

V = ปริมาณของสารน้ำ (Base solution) หน่วยเป็นมิลลิลิตร (ml)

W = น้ำหนักสัตว์หน่วยกิโลกรัม (kg)

R = อัตราการให้น้ำเกลือ หน่วยมิลลิลิตร/ชั่วโมง (ml/h)

C = ความเข้มข้นยา หน่วยมิลลิกรัม/มิลลิลิตร (mg/ml)

หลังจากที่คำนวณได้นั้นก็นำ ml ที่คำนวณได้ ไปทดแทนในสารน้ำตั้งต้น เช่น คำนวณยา furosemide ได้ 5 ml ใส่ใน D-5-W 100 ml ก็ให้ผสม furosemide 5 ml เข้าไปใน D-5-W 95 ml ได้เลย

อ่านเพิ่มเติม: เครื่องมือช่วยคำนวณอัตราการให้น้ำเกลือ (Fluid rate)

ตัวอย่างวิธีคำนวณปริมาณยา CRI ในสัตว์

ตัวอย่าง case การใช้การให้ยาแบบ CRI ในสัตว์

การให้ยา CRI ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสัตวแพทย์ซึ่งถือว่าต้องใช้ข้อมูลในองค์รวม บริบท หรือข้อจำกัดในการให้แต่ละครั้งมาพิจารณาร่วมกัน โดยเราจะยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายๆแต่ทุก case ก็ไม่จำเป็นจะต้องทำเหมือนกัน (No one size fit all)

Case 1: สุนัข อายุ 12 ปี น้ำหนัก 5 kg สัตวแพทย์ได้วินิจฉัยว่าป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน จำเป็นต้องได้รับ furosemide 1 mg/kg/h (16.67 mcg/kg/min) ผสมสารน้ำ D5W 100 ml โดยอัตราความเร็วในการให้สารน้ำสำหรับโรคหัวใจไม่เกิน 30 ml/kg/24h และยา furosemide มีความเข้มข้น 10 mg/ml

วิธีคิด:

1.คำนวณเรทน้ำเกลือจากบทความของเราโดยเลือก maintain rate = 30 ml/kg/24h และระยะเวลาให้สารน้ำคือ 24 h จะได้น้ำเกลือที่ต้องให้ 6 ml/h

2.คำนวณปริมาณยาตามสูตร ml = [ DVW/16.67R ] / C

D = 16.67 mcg/kg/min

V = 100 ml

W = 5 kg

R = 6 ml/h

C = 10 mg/ml

ml = [16.67 x 100 x 5 /16.67 x 6] / 10 = 8.3 ml

สรุป Case1: ใช้ยา furosemide ปริมาณ 8.3 ml ผสมในน้ำเกลือ D5W 91.7 ml ใน rate น้ำเกลือ 6 ml/h โดยวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

 

Case 2: สุนัขหนัก 30 kg พบว่ามีภาวะการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ (Ventricular tachycardia) สัตวแพทย์ประเมินแล้วตัดสินใจเลือกใช้ lidocaine ขนาด 50 mcg/kg/min ผสมสารน้ำ NSS 500 ml โดยอัตราเร็วในการให้สารน้ำอยู่ใน rate maintenance ที่ 50 ml/kg/24h และยา lidocaine มีความเข้มข้น 2 % (20 mg/ml)

วิธีคิด:

1.คำนวณเรทน้ำเกลือจากบทความของเราโดยเลือก maintain rate = 50 ml/kg/24h และระยะเวลาให้สารน้ำคือ 24 h จะได้น้ำเกลือที่ต้องให้ 63 ml/h

2.คำนวณปริมาณยาตามสูตร ml = [ DVW/16.67R ] / C

D = 50 mcg/kg/min

V = 500 ml

W = 30 kg

R = 63 ml/h

C = 20 mg/ml

ml = [50 x 500 x 30 /16.67 x 63] / 20 = 36 ml

สรุป Case2: ใช้ยา lidocaine ปริมาณ 36 ml ผสมในน้ำเกลือ NSS 464 ml ใน rate น้ำเกลือ 63 ml/h โดยวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

 

Case 3 : แมวน้ำหนัก 4 kg มาโรงพยาบาลด้วยอาการชัก สัตวแพทย์ประเมินให้ใช้ยา propofol ขนาด 100 mcg/kg/min ผสมสารน้ำ NSS 100 ml โดยอัตราเร็วในการให้สารน้ำอยู่ใน rate maintenance ที่ 50 ml/kg/24h และยา propofol มีความเข้มข้น 10 mg/ml

วิธีคิด:

1.คำนวณเรทน้ำเกลือจากบทความของเราโดยเลือก maintain rate = 50 ml/kg/24h และระยะเวลาให้สารน้ำคือ 24 h จะได้น้ำเกลือที่ต้องให้ 8 ml/h

2.คำนวณปริมาณยาตามสูตร ml = [ DVW/16.67R ] / C

D = 100 mcg/kg/min

V = 100 ml

W = 4 kg

R = 8 ml/h

C = 10 mg/ml

ml = [ 100 x 100 x 4/ 16.67 x 8] / 10 = 30 ml

สรุป Case3: ใช้ยา propofol ปริมาณ 30 ml ผสมในน้ำเกลือ D5W 70 ml ใน rate น้ำเกลือ 8 ml/h โดยวางแผนประเมินร่างกาย หรือวางแผนการรักษาอื่นๆภายหลังการให้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์

การให้ยาแบบ CRI เหมาะสำหรับยาที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้น หรือต้องการรักษาระดับยาในเลือดที่คงที่อย่างไรก็ตาม ควรใช้อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ และสังเกตอาการของสัตว์อย่างใกล้ชิด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆเพิ่มเติม:

คำนวนปริมาณยาในสัตว์ (Animal drug calculation)

คำนวณการให้น้ำเกลือในสัตว์ (Crystalloid fluid calculation)

แหล่งข้อมูล

Papich Handbook of Veterinary Drugs 5th edition

https://www.vpatthailand.org

ติดต่อสอบถาม
Writer:teenalytic
Share
Share
Share
Share
Print