คำนวณหาจุดสั่งซื้อ (Reorder point) เพื่อจัดการสต็อกสินค้า
ตัวช่วยวางแผนว่าสินค้าในคลังเหลือเท่าไรถึงจะสั่งซื้อเพิ่ม โดยการหาจุดสั่งซื้อ (Reorder point) พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจสัตว์
ถ้าเราเป็นคนทำธุรกิจหรือเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อสินค้า คงจะมีคำถามว่าเราควรสั่งซื้อสินค้าจำนวนเท่าไรต่อครั้ง? และสินค้าในที่จัดเก็บเหลือเท่าไรถึงจะสั่งซื้อเพิ่ม? วันนี้เราจะตอบคำถามในข้อที่สอง ซึ่งประโยชน์คือการทำให้เรามีสินค้าเพียงพอในการใช้งานหรือจัดจำหน่าย เราจะมาแนะนำการคำนวณจุดสั่งซื้อ (Reorder point) เพื่อหาจุดสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมพร้อมกับยกตัวอย่างการนำไปใช้งานจริงในธุรกิจสัตว์ และยังสามารถคำนวณจุดสั่งซื้อง่ายๆด้วยตัวเองบนเว็ปไซต์ได้ทันที
อ่านบทความเพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบว่าเราควรสั่งซื้อสินค้าจำนวนเท่าไรต่อครั้ง?
เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน
จุดสั่งซื้อ (Reorder point) คืออะไร?
จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder point หรือ ROP) คือ ระดับสินค้าคงคลังที่บอกให้ธุรกิจของเราว่าถึงเวลาที่ต้องสั่งสินค้าเพิ่มแล้ว หรือง่ายๆว่าของในคลังเหลือเท่าไรควรจะสั่งซื้อเพิ่ม หากไม่ทำการสั่งซื้อในจุดนี้มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาสินค้าขาดสต๊อก และส่งผลเสียต่อธุรกิจตามมาได้
จุดสั่งซื้อ (Reorder point) มีสูตรคำนวณอย่างไร?
Lead Time (L) = จำนวนวัน หรือเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า
Demand (D) = ปริมาณการขาย หรือการใช้สินค้าในหน่วยของเวลา
Safety stock (SS) = ปริมาณสินค้าที่เก็บไว้เผื่อกรณีมีความต้องการที่ไม่คาดคิด
A = ปริมาณการขาย หรือการใช้สินค้าที่ต้องการมากที่สุดในหน่วยของเวลา
B = ช่วงเวลาที่นานที่สุดในการสั่งซื้อสินค้าจนกระทั่งได้รับสินค้า
C = ปริมาณการขาย หรือการใช้สินค้าในสภาวะปกติในหน่วยของเวลา (ค่าเดียวกับ Demand)
D = ช่วงเวลาตามปกติในการสั่งซื้อสินค้าจนกระทั่งได้รับสินค้า (ค่าเดียวกับ Lead Time)
อ่านเพิ่มเติม: คำนวณหาจำนวนการสั่งซื้อสินค้าที่คุ้มค่าในแต่ละครั้ง
ตัวอย่างการคำนวณจุดสั่งซื้อ (Reorder point) ในธุรกิจสัตว์
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท A นำเข้าและจำหน่ายสารผสมอาหารสำหรับสัตว์ ต้องการหาจุดสั่งซื้อ (ROP) ว่าสารผสมอาหารเหลือในคลังเท่าไรควรจะสั่งซื้อเพิ่ม โดยบริษัทมียอดจำหน่าย 300 ถุงต่อเดือน (บางเดือนขายได้ถึง 500 ถุงต่อเดือน) โดยปกติจะใช้เวลา 1 เดือนในการนำเข้าสินค้ามาถึงคลังสินค้า (นานสุดที่ 2 เดือน)
คำนวณ:
Lead Time (L) = เวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า = 1 เดือน
Demand (D) = ปริมาณการขายสินค้าตามปกติในแต่ละเดือน = 300 ถุง/เดือน
Safety stock (SS) = ปริมาณสินค้าที่เก็บไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินคิดจากปัจจัยดังนี้
A = ปริมาณสินค้าที่ต้องการมากที่สุดในแต่เดือน = 500 ถุง/เดือน
B = ช่วงเวลาที่นานที่สุดในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า = 2 เดือน
C = ปริมาณสินค้าที่ต้องการตามปกติในแต่เดือน = 300 ถุง/เดือน
D = ปริมาณสินค้าที่ต้องการตามปกติในแต่เดือน = 1 เดือน
Safety stock (SS) = (A x B) – (C x D) =(5002) – (3001) = 700
ROP = (L x D) + SS = (1*300) + 700 = 1,000 ถุง
สรุป:
บริษัท A ควรจะสั่งสารผสมอาหารเมื่อสินค้าเหลือ 1,000 ถุงหรือมีจุดสั่งซื้อคือ 1000 ถุง และปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งคือ 1,095 ถุง (คำนวณจากตัวอย่างที่ 1 ในอีกบทความ)
ตัวอย่างที่ 2
บริษัท B เป็นผู้แทนจำหน่ายยาสำหรับสัตว์ ต้องการหาจุดสั่งซื้อว่ายาเหลือในสต๊อกเท่าไรควรจะสั่งซื้อเพิ่ม โดยบริษัทมียอดจำหน่ายยา 100 ขวดต่อวัน (บางวันขายได้ถึง 150 ขวด) ปกติจะใช้เวลา 2 วันในการจัดส่งสินค้ามาถึงคลังสินค้า (จัดส่งนานสุด 4 วัน)
คำนวณ:
Lead Time (L) = เวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า = 2 วัน
Demand (D) = ปริมาณการขายสินค้าตามปกติในแต่ละเดือน = 100 ขวด/วัน
Safety stock (SS) = ปริมาณสินค้าที่เก็บไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินคิดจากปัจจัยดังนี้
A = ปริมาณสินค้าที่ต้องการมากที่สุดในแต่เดือน = 150 ขวด/วัน
B = ช่วงเวลาที่นานที่สุดในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า = 4 วัน
C = ปริมาณสินค้าที่ต้องการตามปกติในแต่เดือน = 100 ขวด/วัน
D = ปริมาณสินค้าที่ต้องการตามปกติในแต่เดือน = 2 วัน
Safety stock (SS) = (A x B) – (C x D) = (1504) – (1002) = 400
ROP = (L x D) + SS =(2*100) + 400 = 600 ขวด
สรุป:
บริษัท B ควรจะสั่งซื้อยาเพิ่มเมื่อยาเหลือ 600 ขวดหรือมีจุดสั่งซื้อคือ 600 ขวด และปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งคือ 316 ขวด (คำนวณจากตัวอย่างที่ 2 ในอีกบทความ)
ตัวอย่างที่ 3
โรงพยาบาลสัตว์ C ต้องการหาจุดสั่งซื้อว่ายาเหลือในโรงพยาบาลสัตว์เท่าไรควรจะสั่งซื้อเพิ่ม โดยโรงพยาบาลจ่ายยาให้สัตว์ป่วยที่เข้ามาโรงพยาบาล 100 เม็ดต่อสัปดาห์(บางสัปดาห์จ่ายยามากถึง 200 เม็ด) ปกติจะใช้เวลา 1 วันในการจัดส่งยามาถึงโรงพยาบาล (จัดส่งนานสุด 3 วัน)
คำนวณ:
Lead Time (L) = เวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า = 1 วัน
Demand (D) = ปริมาณการขายสินค้าตามปกติในแต่ละเดือน = 100 เม็ด/วัน
Safety stock (SS) = ปริมาณสินค้าที่เก็บไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินคิดจากปัจจัยดังนี้
A = ปริมาณสินค้าที่ต้องการมากที่สุดในแต่เดือน = 200 เม็ด/วัน
B = ช่วงเวลาที่นานที่สุดในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า = 3 วัน
C = ปริมาณสินค้าที่ต้องการตามปกติในแต่เดือน = 100 ขวด/วัน
D = ปริมาณสินค้าที่ต้องการตามปกติในแต่เดือน = 1 วัน
Safety stock = (A x B) – (C x D) = (2003) – (1001) = 500
ROP = (L x D) + SS =(1*100) + 500 = 600 เม็ด
สรุป:
โรงพยาบาลสัตว์ C ควรจะสั่งซื้อยาเพิ่มเมื่อยาเหลือ 600 เม็ดหรือมีจุดสั่งซื้อคือ 600 เม็ด และปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งคือ 200 เม็ด (คำนวณจากตัวอย่างที่ 3 ในอีกบทความ)
ทำไมต้องคำนวณจุดสั่งซื้อในธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์?
ป้องกันสินค้าขาดสต็อก
ช่วยให้คุณมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลา ไม่พลาดโอกาสในการขาย
ช่วยในการวางแผนที่ดีขึ้น
ช่วยในการวางแผนการสั่งซื้อและการจัดการพื้นที่เก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
ลูกค้าสามารถหาซื้อสินค้าที่ต้องการได้ตลอด ไม่ต้องรอหรือเปลี่ยนไปซื้อที่อื่น
ข้อควรระวังในการใช้ Reorder Point ในธุรกิจสัตว์
ความต้องการที่ไม่แน่นอน
โรคระบาดในสัตว์ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และการแข่งขันของสินค้าในตลาดอาจทำให้ความต้องการสินค้าเปลี่ยนแปลง
ความหลากหลายของสินค้า
ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์มักมีสินค้าที่หลากหลายทั้งอาหาร ของเล่น ของใช้ ยา และวัคซีน ต้องคำนวณจุดสั่งซื้อแยกในแต่ละประเภทสินค้า
อายุการเก็บรักษาสินค้า
ยา สารเสริม อุปกรณ์ และอาหารสัตว์มีอายุการเก็บรักษาอย่างจำกัด ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเมื่อคำนวณจุดสั่งซื้อ
มีข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดเก็บ
คลินิกสัตว์และร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงมักมีพื้นที่จำกัด อาจต้องประยุกต์จุดสั่งซื้อให้เหมาะกับสถานที่จัดเก็บ
การกำหนดจุดสั่งซื้อซ้ำที่เหมาะสมเป็นกลยุทธ์สำคัญในการบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การเข้าใจและประยุกต์ใช้แนวคิดนี้อย่างถูกต้องจะเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการบริหารธุรกิจยุคปัจจุบัน
Related Posts