คาดการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์ม จากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ
ประยุกต์ใช้ AI เพื่อทำนายราคาขายสุกรหน้าฟาร์มได้ง่ายๆ จากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆที่เราทราบในประเทศไทย
ในโลกของธุรกิจปศุสัตว์ การคาดการณ์ราคาสินค้าเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหมู ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนหลักของคนไทย การเปลี่ยนแปลงของราคาหมูสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม บทความนี้จะนำเสนอวิธีการคาดการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มโดยใช้ข้อมูลจากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปวางแผนในการดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดี
เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน
สรุปภาพรวมโมเดลคาดการณ์ราคาหมูจากสินค้าเกษตรอื่นๆ
- ราคาหมูชิ้นส่วนส่วนไหล่ ขายปลีกเป็นตัวแทนที่ดีในการคาดการณ์ราคาสุกรหน้าฟาร์ม เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับราคาสุกรหน้าฟาร์มมากที่สุดที่ 91% (Correlation) ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.59 x ราคาเนื้อหมูส่วนไหล่[ขายปลีก]) – 17 และความคลาดเคลื่อน ± 4 บาท
- เมื่อเทียบชิ้นส่วนต่างของสุกร กับราคาหมูหน้าฟาร์มไปจนถึงกลางปี 2022 จะมีความเกี่ยวข้องกันมากกว่า 90% แต่เมื่อเกิดปัญหาลักลอบนำเข้าชิ้นส่วนหมูเถื่อนเข้ามาในประเทศก็อาจจะทำให้ราคาชิ้นส่วนมีความเกี่ยวข้องกับราคาหมูหน้าฟาร์มลดลงต่ำกว่า 90% ได้
- ราคาปลาดุก (พันธ์บิ๊กอุย) มีความสัมพันธ์กับราคาสุกรหน้าฟาร์มน้อยที่สุดที่ 0.5% (Correlation)
- ราคาหมูหน้าฟาร์ม มีความเกี่ยวข้องกับราคาลูกไก่ไข่ 29%, ราคาไข่ไก่ที่ 18% และ ลูกไก่เนื้อ 8% ตามลำดับ การที่กลุ่มสินค้าเกี่ยวกับไก่ไข่และไข่มีความเกี่ยวข้องมากกว่าเพราะสะท้อนการบริโภคภายในประเทศไทยเช่นเดียวกับราคาของหมู แต่ไก่เนื้อประเทศไทยมีการส่งออกปริมาณมากทำให้ราคามีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้านอกประเทศ
- มีสินค้าเกษตรหลายชนิดที่คนมักคิดว่าราคามีแนวโน้มในทางเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่
- การคาดการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มยังได้รับผลกระทบอื่นๆจากความต้องการของตลาด ปริมาณการผลิต ต้นทุนการผลิต นโยบายภาครัฐ และสภาพภูมิอากาศและโรคระบาด
ข้อมูลที่ใช้สร้าง AI โมเดลเพื่อทำนายแนวโน้มราคาหมู
วิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของราคาสุกรหน้าฟาร์มกับสินค้าปศุสัตว์อื่นๆที่ประกาศจากกรมการค้าภายในย้อนหลัง 8 ปี ตั้งแต่ มกราคม 2017 – พฤษภาคม 2024 เช่น ราคาเนื้อหมูส่วนไหล่, ราคาขายลูกหมู 16 กิโลกรัม, ราคาหมูสามชั้น, ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ราคาโครงไก่, ราคาลูกไก่ไข่, ราคากากถั่วเหลือง, ราคาไข่ไก่ และราคากระหล่ำปลี เป็นต้น ว่ามีผลกระทบต่อราคาหมูหน้าฟาร์มอย่างไร มีทิศทางของราคาใกล้เคียงกันหรือไม่ และอะไรเป็นตัวแทนที่ดีในการทำนายราคาหมูหน้าฟาร์ม โดยใช้สมการเส้นตรง (Linear regression) ถ้าใครอยากจะทราบวิธีการทำโมเดล Machine learning ก็สามารถตามไปอ่านที่บทความ วิธีการทำโมเดลอย่างง่ายเพื่อใช้ในการคาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรและปศุสัตว์
ราคาสินค้าอื่นๆที่ส่งผลต่อราคาสุกรหน้าฟาร์มเป็นการหาความสัมพันธ์ของราคาเท่านั้น แต่ด้านสาเหตุอาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่มาเกี่ยวข้องได้
ผลกระทบของราคาสินค้าเกษตรและปศุสัตว์อื่นๆต่อราคาหมู
ผลกระทบจากราคาเนื้อหมูส่วนไหล่ตัดแต่งต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 91%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.59 x ราคาเนื้อหมูส่วนไหล่[ขายปลีก]) – 17
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 4 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาหมูส่วนไหล่ 150 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 71.5 ± 4 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาสะโพกหมู (ตัดแต่ง) ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 91%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.6 x ราคาสะโพกหมู (ตัดแต่ง)[ขายปลีก]) – 17
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 4 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสะโพกหมู (ตัดแต่ง) 140 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 67 ± 4 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาสันนอกหมู ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 90%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.56 x ราคาสันนอกหมู) – 15
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 4 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสันนอกหมู 150 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 69 ± 4 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาสันในหมู ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 87%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.48 x ราคาสันในหมู) – 5
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 5 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสันในหมู 150 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 67 ± 5 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาขายลูกหมูต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 86%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.02 x ราคาขายลูกหมู 16 กก.) + 32
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 5 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาลูกหมู 1600 บาท/ตัว ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 64 ± 5 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาหมูสามชั้นต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 78%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.37 x ราคาหมูสามชั้น[ขายปลีก]) + 9.5
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 6.7 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาหมูสามชั้น 170 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 72.4 ± 6.7 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โรงงานอาหารสัตว์ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 40%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (5.9 x ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) + 14
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 11 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาข้าวโพด 12 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 84 ± 11 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาโครงไก่ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 39%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (2.2 x ราคาโครงไก่[ขายปลีก]) +10
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 10 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาโครงไก่ 27 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 69.4 ± 10 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาลูกไก่ไข่ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 29%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (1.2 x ราคาลูกไก่ไข่) + 45
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 12 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาลูกไก่ไข่ 15 บาท/ตัว ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 63 ± 12 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคากากถั่วเหลืองนำเข้าโปรตีน47% ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 25%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.2 x ราคากากถั่วเหลือง) + 39
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 13 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคากากถั่วเหลือง 21 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 43.2 ± 13 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาขายไข่ไก่ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 18%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (12.2 x ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม) + 37
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 13 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาไข่ไก่ 4 บาท/ฟอง ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 85.8 ± 13 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคากะหล่ำปลีต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 17%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (1.1 x ราคากะหล่ำปลี) + 55
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 13 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคากะหล่ำปลี 25 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 82.5 ± 13 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาปลานิลต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 15%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = 130 – (1.2 x ราคาปลานิล)
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 14 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาปลานิล 47 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 73.6 ± 14 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาเนื้อโคสันนอกต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 10%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.8 x เนื้อโคสันนอก) – 128
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 14 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาเนื้อโคสันนอก 260 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 80 ± 14 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาแตงกวาต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 9%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (1 x ราคาแตงกวา) + 56.7
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 14 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาแตงกวา 17 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 73.7 ± 14 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาลูกไก่เนื้อ ซีพี ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 8%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (1.1 x ราคาลูกไก่เนื้อ ซีพี) + 58
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 14 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาลูกไก่เนื้อ 12.5 บาท/ตัว. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 71.75 ± 14 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาปลาดุก (พันธ์บิ๊กอุย) ต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 0.5%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม = (0.2 x ราคาปลาดุก) + 57
- ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 14 บาท
- ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาปลาดุก 65 บาท/กก. ราคาหมูหน้าฟาร์มมีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 70 ± 14 บาท/กก.
ผลกระทบจากราคาสินค้าปศุสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ที่สูงต่อราคาหมูหน้าฟาร์ม
- ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) กับราคาหมูหน้าฟาร์ม = 97%
- ผลคือ ราคาหมูหน้าฟาร์ม (บาท/กก.) = 2.67 – 0.002(ราคาสามชั้น) + 0.009(ราคาลูกหมู) – 0.2(ราคาสะโพกหมู) + 0.45(ราคาสันนอก) + 0.04(ราคาสันใน)
- ค่าความคลาดเคลื่อน (Residual standard error) = ± 2.4 บาท
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาหมูหน้าฟาร์ม
การคาดการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อราคา ได้แก่
- ความต้องการของตลาด (Demand): การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เทศกาลต่างๆ หรือแนวโน้มด้านสุขภาพ สามารถส่งผลต่อความต้องการเนื้อหมูได้
- ปริมาณการผลิต (Supply): จำนวนฟาร์มหมู ปริมาณการเลี้ยงหมู อัตราการเติบโตของหมู การลักลอบนำเข้าเนื้อหมู ล้วนมีผลต่อปริมาณหมูที่เข้าสู่ตลาด
- ต้นทุนการผลิต (Cost): ราคาอาหารสัตว์ ค่าแรงงาน ค่าพลังงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสัตว์ มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต
- นโยบายภาครัฐ (Policy): การควบคุมราคา การส่งเสริมการส่งออก หรือการจำกัดการนำเข้า สามารถส่งผลกระทบต่อราคาหมูในประเทศได้
- สภาพภูมิอากาศและโรคระบาด (Climate and animal disease): ภัยธรรมชาติหรือการระบาดของโรคในสัตว์ สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อปริมาณการผลิตและราคาหมู
Related Posts