คาดการณ์แนวโน้มราคาไข่ไก่จากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ

ประยุกต์ใช้ AI เพื่อทำนายราคาขายไข่ไก่ได้ง่ายๆ จากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆที่เรารู้ในประเทศไทย

ประยุกต์ใช้ AI เพื่อทำนายราคาขายไข่ไก่ได้ง่ายๆ จากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆที่เรารู้ในประเทศไทย

ในตลาดสินค้าเกษตร การคาดการณ์ราคาสินค้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดไข่ไก่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนที่ดี และราคาถูกของคนไทย การเปลี่ยนแปลงของราคาไข่สามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม บทความนี้จะนำเสนอวิธีการคาดการณ์ราคาไข่ไก่โดยใช้ข้อมูลจากราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปวางแผนในการดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดี

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

สรุปภาพรวมโมเดลคาดการณ์ราคาไข่จากสินค้าเกษตรอื่นๆ

สรุปภาพรวมราคาสินค้าเกษตรที่สัมพันธ์กับราคาไข่ไก่
  • ราคาไข่ไก่ในประเทศไทยมักจะมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องสูง เช่น นโยบายควบคุมราคาสินค้า ปริมาณการผลิต ทำให้ระดับความสัมพันธ์ (Correlation) กับสินค้าอื่นๆได้ค่าไม่สูงมาก
  • ราคากากถั่วเหลืองนำเข้า (โปรตีน 47%) เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดในการคาดการณ์ราคาไข่ไก่ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับราคาไข่ไก่มากที่สุดที่ 66% (Correlation) โดยมีสมการในการคาดการณ์คือ ราคาไข่ไก่คละ(บาท/ฟอง) = (0.12 x ราคากากถั่วเหลือง) + 1 และมีค่าคลาดเคลื่อน ± 0.28 บาท
  • ราคาปลาดุก มีความสัมพันธ์กับราคาไข่ไก่น้อยที่สุดที่ 0.02% (Correlation)
  • เมื่อเทียบวัตถุดิบอาหารสัตว์ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะมีความสัมพันธ์น้อยกว่ากากถั่วเหลือง ต่อราคาไข่ไก่ที่ 46 และ 66% ตามลำดับ
  • ราคาลูกไก่ไข่ควรจะมีความสัมพันธ์กับไก่ไข่ที่สูงแต่ความเป็นจริงมีค่าความสัมพันธ์เพียง 39% ในขณะที่ลูกไก่เนื้อมีค่า 8%
  • ราคาหมูสามชั้นมีความสัมพันธ์ถึง 52% และโครงไก่มีค่าความสัมพันธ์ 55% บ่งบอกว่าราคาไข่ไก่อาจจะเกี่ยวข้องกับสินค้าปลายน้ำที่ใกล้ถึงมือผู้บริโภคมากกว่าสินค้าต้นน้ำ

ข้อมูลที่ใช้สร้าง AI โมเดลเพื่อทำนายแนวโน้มราคาไข่

model คาดการราคาหมู

วิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของราคาไข่ไก่กับสินค้าเกษตรอื่นๆที่ประกาศจากกรมการค้าภายในย้อนหลัง 8 ปี ตั้งแต่ มกราคม 2017 – พฤษภาคม 2024 เช่น ราคาลูกไก่ไข่, ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ราคากากถั่วเหลือง, ราคาไก่เนื้อ, ราคาหมูหน้าฟาร์ม และราคาชิ้นส่วนสุกร เป็นต้น ว่ามีผลกระทบต่อราคาไข่ไก่อย่างไร มีทิศทางของราคาใกล้เคียงกันหรือไม่ และอะไรเป็นตัวแทนที่ดีในการทำนายราคาไข่ไก่ โดยใช้สมการเส้นตรง (Linear regression) ถ้าใครอยากจะทราบวิธีการทำโมเดล Machine learning ก็สามารถตามไปอ่านที่บทความ วิธีการทำโมเดลอย่างง่ายเพื่อใช้ในการคาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรและปศุสัตว์

ราคาสินค้าอื่นๆที่ส่งผลต่อราคาไข่ไก่เป็นการหาความสัมพันธ์ของราคาเท่านั้น แต่ด้านสาเหตุอาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่มาเกี่ยวข้องได้

ผลกระทบของราคาสินค้าเกษตรและปศุสัตว์อื่นๆต่อราคาไข่

ผลกระทบจากราคากากถั่วเหลืองนำเข้าโปรตีน 47%ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคากากถั่วเหลืองนำเข้าโปรตีน 47%ต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคากากถั่วเหลืองนำเข้าโปรตีน 47% ต่อราคาไข่คละ = 66%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.12 x ราคากากถั่วเหลือง) + 1
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.28 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคากากถั่วเหลือง 20 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 3.4± 0.28 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาโครงไก่ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาโครงไก่ต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาโครงไก่ต่อราคาไข่คละ = 55%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.09 x ราคาโครงไก่[ขายปลีก]) +0.34
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.34 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาโครงไก่ 27 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.77± 0.34 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาหมูสามชั้นต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาหมูสามชั้นต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาหมูสามชั้นต่อราคาไข่คละ = 52%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.01 x ราคาหมูสามชั้น[ขายปลีก]) + 1.1
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.36 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาหมูสามชั้น 170 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.8± 0.36 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อราคาไข่คละ = 46%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.2 x ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) + 0.7
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.38 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 12 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 3.1± 0.38 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาสันในหมู ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาสันในหมูต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาสันในหมูต่อราคาไข่คละ = 44%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.01 x ราคาสันในหมู) +1
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.39 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสันในหมู 150 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.5± 0.39 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคากะหล่ำปลีต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคากะหล่ำปลีต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคากะหล่ำปลีต่อราคาไข่คละ = 39%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.06 x ราคากะหล่ำปลี) + 2
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.38 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคากะหล่ำปลี 25 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 3.5± 0.38 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาลูกไก่ไข่ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาลูกไก่ไข่ต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาลูกไก่ไข่ต่อราคาไข่คละ = 39%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.05 x ราคาลูกไก่ไข่) + 1.8
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.38 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาลูกไก่ไข่ 25 บาท/ตัว ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 3.05± 0.38 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาสันนอกหมู ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาสันนอกหมูต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาสันนอกหมูต่อราคาไข่คละ = 34%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.01 x ราคาสันนอกหมู) + 1.04
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.42 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสันนอกหมู 150 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.54 ± 0.42 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาเนื้อหมูส่วนไหล่ตัดแต่งต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาเนื้อหมูส่วนไหล่ต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาเนื้อหมูส่วนไหล่ต่อราคาไข่คละ = 28%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.01 x ราคาเนื้อหมูส่วนไหล่[ขายปลีก]) + 1.2
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.44 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาหมูส่วนไหล่ 150 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.7± 0.44 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาสะโพกหมู (ตัดแต่ง) ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาสะโพกหมูต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาสะโพกหมูต่อราคาไข่คละ = 28%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.01 x ราคาสะโพกหมู (ตัดแต่ง)[ขายปลีก]) + 1.2
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.44 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสะโพกหมู (ตัดแต่ง) 140 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.6± 0.44 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาเนื้อโคสันนอกต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาเนื้อโคสันนอกต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาเนื้อโคสันนอกต่อราคาไข่คละ = 28%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.04 x เนื้อโคสันนอก) – 8.85
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.42 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาเนื้อโคสันนอก 260 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 1.55± 0.42 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาหมูหน้าฟาร์มต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาหมูหน้าฟาร์มต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาหมูหน้าฟาร์มต่อราคาไข่คละ = 18%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.01 x ราคาหมูหน้าฟาร์ม) + 1.85
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.46 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาหมูหน้าฟาร์ม 70 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.55± 0.46 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาปลานิลต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาปลานิลต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาปลานิลต่อราคาไข่คละ = 15%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = 5 – (0.04 x ราคาปลานิล)
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.48 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาปลานิล 47 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 3.12± 0.48 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาแตงกวาต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาแตงกวาต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาแตงกวาต่อราคาไข่คละ = 14%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.04 x ราคาแตงกวา) + 2.23
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.48 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาแตงกวา 17 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.91± 0.48 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาลูกไก่เนื้อต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาลูกไก่เนื้อต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาลูกไก่เนื้อต่อราคาไข่คละ = 8%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.04 x ราคาลูกไก่เนื้อ) + 2.4
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.48 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาลูกไก่เนื้อ 13 บาท/ตัว ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.92 ± 0.48 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาขายลูกหมูต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาขายลูกหมู 16 กก.ต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาขายลูกหมู 16 กก.ต่อราคาไข่คละ = 3%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.00013 x ราคาขายลูกหมู 16 กก.) + 2.6
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.49 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาลูกหมู 1600 บาท/ตัว ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.8 ± 0.49 บาท/ฟอง

ผลกระทบจากราคาปลาดุก (พันธ์บิ๊กอุย) ต่อราคาไข่ไก่

กราฟความสัมพันธ์ของราคาปลาดุกต่อราคาไข่คละ
  • ระดับความสัมพันธ์ (Correlation, R2) ของราคาปลาดุกต่อราคาไข่คละ = 0.02%
  • ผลคือ ราคาไข่ไก่ = (0.002 x ราคาปลาดุก) + 2.8
  • ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) = ± 0.5 บาท
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาปลาดุก 65 บาท/กก. ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มราคาอยู่ที่ 2.93 ± 0.5 บาท/ฟอง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาไข่ไก่

การคาดการณ์ราคาไข่ไก่เป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อราคา ได้แก่

  1. ความต้องการของตลาด (Demand): การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เทศกาลต่างๆ สามารถส่งผลต่อความต้องการไข่ไก่ได้
  2. ปริมาณการผลิต (Supply): จำนวนฟาร์มไก่ไข่ ปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่ อัตราการให้ไข่ ปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ล้วนมีผลต่อปริมาณไข่ไก่ที่เข้าสู่ตลาด
  3. ต้นทุนการผลิต (Cost): ราคาอาหารสัตว์ ค่าแรงงาน ค่าพลังงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสัตว์ มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต
  4. นโยบายภาครัฐ (Policy): การควบคุมราคา การส่งเสริมการส่งออก หรือการจำกัดการนำเข้า สามารถส่งผลกระทบต่อราคาไข่ไก่ในประเทศได้
  5. สภาพภูมิอากาศและโรคระบาด (Climate and animal disease): ภัยธรรมชาติหรือการระบาดของโรคในสัตว์ สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อปริมาณการผลิตและราคาไข่ไก่
ติดต่อสอบถาม
Writer:teenalytic
Share
Share
Share
Share
Print