คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อสินค้าให้คุ้มค่าที่สุด ด้วยสูตร EOQ

วิธีและตัวช่วยคำนวณ EOQ (Economic Order Quantity) พร้อมตัวอย่างการใช้งานเพื่อช่วยวางแผนในการหาปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมในธุรกิจต่างๆ และธุรกิจสัตว์

บทความบอกวิธีและตัวช่วยคำนวณ EOQ (Economic Order Quantity) พร้อมตัวอย่างการใช้งานเพื่อช่วยวางแผนในการหาปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมในโรงพยาบาลสัตว์ และธุรกิจสัตว์

ถ้าเราเป็นคนทำธุรกิจหรือเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อสินค้า คงจะมีคำถามว่าเราควรสั่งซื้อสินค้าจำนวนเท่าไรต่อครั้ง? และสินค้าในที่จัดเก็บเหลือเท่าไรถึงจะสั่งซื้อเพิ่ม? วันนี้เราจะตอบคำถามข้อแรกก่อน เพื่อให้เราบริหารต้นทุนของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะมาแนะนำการคำนวณ EOQ (Economic Order Quantity) เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมพร้อมกับยกตัวอย่างการนำไปใช้งานจริงในธุรกิจสัตว์ และยังสามารถคำนวณ EOQ ง่ายๆด้วยตัวเองบนเว็ปไซต์ได้ทันที

อ่านบทความเพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบว่าเราควรสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเมื่อสินค้าเหลือปริมาณเท่าไร?

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

EOQ (Economic Order Quantity) คืออะไร?

EOQ (Economic Order Quantity) คือ ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม หรือประหยัดที่สุด เพื่อให้มีต้นทุนให้น้อยที่สุด และช่วยในการจัดการสต็อกของสินค้าในการขายหรือใช้งาน ในการวางแผนการจัดการสำหรับธุรกิจสัตว์

EOQ (Economic Order Quantity) คำนวณอย่างไร?

สูตรคำนวณ EOQ = จำนวนการสั่งซื้อที่เหมาะสม = SQRT((2xDxS)) / H

EOQ = จำนวนการสั่งซื้อที่เหมาะสม

D = ปริมาณการขาย หรือการใช้สินค้าในช่วงเวลาหนึ่ง

S = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาในแต่ละครั้ง

H = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วยในช่วงเวลาหนึ่ง

 

อ่านเพิ่มเติม: คำนวณจุดที่ควรสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม หรือจุดสั่งซื้อซ้ำ (reorder point)

ตัวอย่างการคำนวณ EOQ ในธุรกิจสัตว์

ตัวอย่างที่ 1

บริษัท A นำเข้าและจำหน่ายสารผสมอาหารสำหรับสัตว์ ต้องการหาปริมาณการสั่งซื้อสารผสมอาหารที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง โดยบริษัทมียอดจำหน่าย 300 ถุงต่อเดือน โดยมีค่าใช้จ่ายในการนำเข้าต่อครั้ง 10,000 บาท และมีค่าเช่าคลังสินค้าเพื่อรอจำหน่ายถุงละ 5 บาทต่อเดือน

คำนวณ:

D = ปริมาณการขายในแต่ละเดือน = 300 ถุง/เดือน

S = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาในคลังแต่ละครั้ง = 10,000 บาท/ครั้ง

H = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าต่อเดือน = 5 บาท/ถุง/เดือน

EOQ = sqrt((2DS) / H) = sqrt((230010000) / 5) = 1,095 ถุง/ครั้ง

สรุป:

ปริมาณการสั่งซื้อสารผสมอาหารที่คุ้มค่าที่สุดของบริษัท A คือ 1,095 ถุง/ครั้ง โดยจะสั่งสินค้าทุกๆ 3.7 เดือน และควรจะสั่งซื้อสารผสมอาหารเมื่อสินค้าเหลือ 1,000 ถุง (คำนวณจากตัวอย่างที่ 1 ในอีกบทความ)

 


 

ตัวอย่างที่ 2

บริษัท B เป็นผู้แทนจำหน่ายยาสำหรับสัตว์ ต้องการหาปริมาณการสั่งซื้อยาสัตว์ที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง โดยบริษัทมียอดจำหน่ายยา 100 ขวดต่อวัน โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจากซัพพลายเออร์ (Supplier) 1,000 บาทต่อครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้ารอจำหน่ายขวดละ 2 บาทต่อวัน

คำนวณ:

D = ปริมาณการขายต่อวัน = 100 ขวด/วัน

S = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อยาเข้ามาในคลังแต่ละครั้ง = 1,000 บาท/ครั้ง

H = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษายาต่อวัน = 2 บาท/ขวด/วัน

EOQ = sqrt((2DS) / H) = sqrt((21001000) / 2) = 316 ขวด/ครั้ง

สรุป:

ปริมาณการสั่งซื้อยาสัตว์ที่คุ้มค่าที่สุดของบริษัท B คือ 316 ขวด/ครั้ง โดยจะสั่งสินค้าทุกๆ 3.2 วัน และควรจะสั่งยาเพิ่มเมื่อยาเหลือ 600 ขวด (คำนวณจากตัวอย่างที่ 2 ในอีกบทความ)

 


 

ตัวอย่างที่ 3

โรงพยาบาลสัตว์ C ต้องการหาปริมาณการสั่งซื้อยาสำหรับสัตว์ที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง โดยโรงพยาบาลจ่ายยาให้สัตว์ป่วยที่เข้ามาโรงพยาบาล 100 เม็ดต่อสัปดาห์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อยาจากบริษัทผู้จัดจำหน่าย 2,000 บาทต่อครั้ง และมีค่าใช้จ่ายสำหรับพื้นที่จัดเก็บสินค้าเม็ดละ 10 บาทต่อสัปดาห์

คำนวณ:

D = ปริมาณการจ่ายยาต่อสัปดาห์ = 100 เม็ด/สัปดาห์

S = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อยาเข้ามาในคลังแต่ละครั้ง = 2,000 บาท/ครั้ง

H = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษายาต่อสัปดาห์ = 10 บาท/เม็ด/สัปดาห์

EOQ = sqrt((2DS) / H) = sqrt((21002000) / 10) = 200 เม็ด/ครั้ง

สรุป:

ปริมาณการสั่งซื้อยาสำหรับสัตว์ที่เหมาะสมของโรงพยาบาล C คือ 200 เม็ด/ครั้ง โดยจะสั่งสินค้าทุกๆ 2 สัปดาห์ และควรจะสั่งยาเพิ่มเมื่อยาเหลือ 600 เม็ด (คำนวณจากตัวอย่างที่ 3 ในอีกบทความ)

ทำไมต้องคำนวณ EOQ ในการสั่งซื้อสินค้าในธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์?

ช่วยประหยัดต้นทุน

ลดต้นทุนการสั่งซื้อและการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วยให้มากที่สุด

ช่วยในการวางแผนคลังสินค้าที่ดีขึ้น

ช่วยในการวางแผนการสั่งซื้อและการจัดการพื้นที่เก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ลดความเสี่ยงของธุรกิจ

ลดความเสี่ยงจากการมีสินค้าในคลังมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

ข้อควรระวังในการใช้ EOQ ในธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์

ความต้องการที่ไม่แน่นอน

โรคระบาดในสัตว์ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการรักษาสัตว์ และการแข่งขันของสินค้าในตลาดอาจทำให้ความต้องการเปลี่ยนแปลงได้ทำให้ต้องคอยเฝ้าดูแลการใช้งานสินค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อคำนวณ EOQ

ข้อจำกัดของจำนวนสินค้าจากซัพพลายเออร์ (Supplier)

สินค้าบางกลุ่มอาจจะมีปัญหาเรื่องสต๊อกสินค้าขาดช่วงทำให้ต้องสั่งซื้อสินค้ามากกว่าปกติเพื่อป้องกันสินค้าขาดช่วงในการจำหน่ายให้ลูกค้า และมีปัจจัยด้านปริมาณขั้นต่ำในการสั่งซื้อต่อครั้งที่ต้องพิจารณาในการสั่งซื้อสินค้าร่วมด้วย

อายุการเก็บรักษาสินค้า

ยา สารเสริม อุปกรณ์ และอาหารสัตว์มีอายุการเก็บรักษาอย่างจำกัด ต้องคำนึงปัจจัยนี้เหล่านี้เช่นกัน

มีข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดเก็บ

คลินิกสัตว์และร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงมักมีพื้นที่ในการเก็บสินค้าจำกัด ต้องพิจารณาปรับจำนวณการสั่งซื้อให้เหมาะกับสถานที่จัดเก็บที่มี

ความหลากหลายของสินค้า

ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์มักมีสินค้าที่หลากหลาย ต้องคำนวณ EOQ แยกในแต่ละชนิดของสินค้า

มีข้อจำกัดทางกฎหมาย

ยาบางชนิดอาจมีข้อจำกัดในการสั่งซื้อและเก็บรักษาที่มีกฎหมายบังคับโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถนำ EOQ มาพิจารณาได้

การคำนวณ EOQ มีประโยชน์สำหรับการจัดการสินค้าภายในคลังในธุรกิจต่างๆรวมถึง ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์และคลินิกสัตว์ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังและปรับให้เหมาะกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจ การใช้ EOQ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลและการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ จะช่วยให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุน เพิ่มกำไร และให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถาม
Writer:teenalytic
Share
Share
Share
Share
Print